การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วมากกว่า 1 ครั้ง ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้
28 มีนาคม
2522 : เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์
รัฐเพนซิลเวเนีย ของสหรัฐฯ สาเหตุอุบัติภัยครั้งนั้นเกิดจากแกนเตาปฏิกรณ์ถูกหลอมละลาย
ทำให้เกิดการปนเปื้อนรังสี แต่โชคดีที่สารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระะจายเฉพาะพื้นที่ภายในโรงงานเท่านั้น
ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ความร้ายแรงของเหตุการ์ดังกล่าวอยู่ในระดับ 5
จาก 7 อันดับความร้ายแรงทางนิวเคลียร์
ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ
เดือนสิงหาคม
2522 : เกิดการรั่วไหลของยูเรเนียมในโรงงานนิวเคลียร์ลับ
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเออร์วิน รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ
มีพลเรือนปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีไปกว่า 1,000 คน
เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม
2524 : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สึรุกะของญี่ปุ่นเกิดเหตุรั่วไหลของรังสี
4 ครั้งติดต่อกัน มีผู้ปนเปื้อนสารพิษถึง
278 คน
26 สิงหาคม
2529 : อุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกอุบัติขึ้น
เมื่อเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด
หลังการทดลองผิดพลาด มีผู้ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงราว 203 คน ในจำนวนนี้มี 31 คน เสียชีวิตภายใน 3 เดือน เรื่องราวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา หลังมีกลุ่มเมฆกัมมันตรังสีขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือน่านฟ้าแถบยุโรปเหนือ
โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศระบุว่า เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้อยู่ในระดับ
7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
เดือนเมษายน
2536 : โรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงลับใน เขตตอมสค์-7
ทางตะวันตกของไซบีเรียได้ปล่อยกลุ่มก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งประกอบไปด้วยยูเรเนียม-235
พลูโตเนียม-237 และวัสดุฟิสไซล์ หรือวัสดุธาตุนิวเคลียร์ออกมา
ทว่าไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนผู้บาดเจ็บ ล้มตาย
เดือนพฤศจิกายน
2538 : มีการรายงานเหตุปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงในเมืองเชอร์โนบิลอีกครั้ง
ระหว่างการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ตัวหนึ่ง แม้มีความพยายามปกปิดเรื่องดังกล่าว
แต่ในที่สุดก็ข่าวก็แดงออกมา
11 มีนาคม 2540
: การทดลองในโรงงานนิวเคลียร์ เมืองโทไกมูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว
ต้องหยุดชะงัดชั่วคราว เมื่อเกิดเหตุระเบิด และเพลิงไหม้
ซึ่งมีผู้เคราะห์ร้ายปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี 37 คน
30 กันยายน
2542 : มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากอุบัติเหตุในโรงงานผลิตยูเรเนียม
เมืองโทไกมูระ ญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่อุบัติภัยเชอร์โนบิล สาเหตุครั้งนี้เกิดจากเจ้าหน้าที่เติมยูเรเนียมลงในถังตกตะกอนมากเกินไป
จากความมักง่าย เพื่อต้องการประหยัดเวลา โดยมี เจ้าหน้าที่เสียชีวิต
2 คน ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นต้นเหตุของปัญหาในครั้งนี้
ทั้งพบผู้ปนเปื้อนสารพิษมากกว่า 600 คน และรัฐบาลสั่งให้ประชาชนอีกกว่า
320,000 คนห้ามออกจากบ้านมากกว่า 1 วัน
9 สิงหาคม
2547 : เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งในสามตัวของโรงงานนิวเคลียร์มิฮามะ
ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว 350 กิโลเมตร
หยุดทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น
ก่อนที่ความร้อนสูงจะรั่วไหลจนอาจทำให้แกนกลางหลอมละลาย คนงาน 4 คนเสียชีวิต และอีก 7 คนถูกเพลิงไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัส
จากการรั่วไหลไอน้ำที่ไร้สารกัมมันตภาพรังสีอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นภัยนิวเคลียร์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของญี่ปุ่น
และล่าสุดหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีความรุนแรงถึง 9 ริกเตอร์
จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูงถึง 10 เมตรซัดเข้าประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชากรในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึงเตาปฏิกรณ์
หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ
4
เรื่องเล่าชวนขนหัวลุกแห่ง เชอร์โนบิล
1.ผลจากการระเบิดของโรงงานนิวเคลียร์แห่งนี้ ทำให้กว่า 4,000 ชีวิต ต้องเสียชีวิต กว่า 300,000 ชีวิต ต้องอพยพไปตั้งรกรากที่อื่น และอีกกว่า 600,000 ชีวิต มีสารกัมมันตภาพรังสีในร่างกาย และส่งผลให้รูปร่างผิดปกติ
พิกลพิการ จนแทบจะไม่เหลือเค้ามนุษย์
2.ปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่ระเบิดออกมาของเชอร์โนบิล รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเกาะฮิโรชิม่าในสงครามโลกครั้งที่
2 ถึง 4 เท่า! และอาจต้องใช้เวลาถึง 24,000 ปี
กว่าที่ผู้คนจะกลับมาอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย
3.กัมมันตภาพรังสีส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่เหลือเชื่อ
อย่างที่เคยมีผู้พบเห็นนกสายพันธุ์ประหลาดในเขตใกล้กับเชอร์โนบิล หรือที่เรียกว่า “Black Bird of Chernobyl” นกขนสีดำสนิทขนาดยักษ์
มีรัศมีของปีกกว้างถึง 20 ฟุต ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครเห็นนกสายพันธุ์นี้มาก่อน
4.คนที่เคยลักลอบเข้าไปสำรวจซากพื้นที่ส่วนต่างๆ ของเชอร์โนบิล
ต่างเคยเจอประสบการณ์เหนือธรรมชาติที่ชวนขนลุกในหลายระดับ เช่น
ความรู้สึกเหมือนถูกจ้องมองตลอดเวลา
ได้ยินเสียงกรีดร้องขอความช่วยเหลือที่ไร้ที่มา
พบเห็นเงาของชายลึกลับที่หลายคนพบเห็น และพูดถึงรูปร่างลักษณะตรงกัน จนถูกเรียกว่า
“Slender Man” บ้างก็พบซากตุ๊กตาเด็กผู้หญิงที่ตั้งอยู่ในส่วนต่างๆ
ของเชอร์โนบิลอย่างตั้งใจราวกับมีคนมาจัดวางไว้
Chernobyl
Diaries อดีตแสนสะพรึง
หากย้อนกลับไปเมื่อ 26 เมษายน 2529 ได้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ขึ้นที่หน่วยที่ 4
ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน จนเวลาล่วงไปกว่า 240 ชั่วโมง
ไฟที่ลุกไหม้และการปล่อยกัมมันตภาพรังสีไม่สามารถถูกควบคุมได้ จนถึงวันที่ 6
พฤษภาคม 2529 หลังเกิดเหตุระเบิดดังกล่าว รัฐบาลมีคำสั่งให้ดำเนินการสร้าง “โลงศพโบราณ”
สิ่งห่อหุ้มขนาดใหญ่ที่ทำด้วยคอนกรีตเพื่อปกคลุมเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4
ที่ถูกทำลาย
โลงศพนี้ถูกออกแบบมาเพื่อหยุดการปล่อยรังสีที่มหาศาลที่เพิ่มขึ้นสู่บรรยากาศและภายในเดือนพฤศจิกายน 2529 โลงศพโบราณที่ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ได้สร้างเสร็จสิ้น โดยใช้เหล็กกล้ามากกว่า 7,000 ตัน และคอนกรีต 410,000 ลูกบาศก์เมตร
โลงศพโบราณถูกออกแบบมาให้มีอายุ 20-30 ปี (ผ่านมากว่า 26 ปีแล้ว) ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือความไม่มั่นคง เพราะมันถูกสร้างอย่างรีบเร่ง เหล็กที่เป็นคานหนุนถูกกัดกร่อน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อของโครงสร้างทั้งหมด น้ำได้รั่วซึมเข้าไปในโลงศพผ่านทางรูบนหลังคาและถูกปนเปื้อนด้วยกัมมันตภาพรังสี จากนั้นจึงไหลซึมผ่านพื้นเครื่องปฏิกรณ์ลงสู่ดินข้างใต้
ผลวิจัยบางสำนักคาดการณ์ว่าหายนะจากนิวเคลียร์ครั้งต่อไปในระดับความรุนแรงเท่ากับที่เชอร์โนบิลจะเกิดขึ้นอีกที่เชอร์โนบิล เนื่องจากมีเกราะป้องกันที่บอบบางและยังคงมีสารตกค้างมากกว่า 95 % ภายในสิ่งห่อหุ้มนั้น ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกหากโลกศพโบราณทลายลง ความสุญเสียจะหวนกลับมาอีกครั้งหรือไม่ ส่วนจะมีแผนเตรียมรับมมือ ป้องกันอย่างไรนั้น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
บทความเรื่องอุบัติภัยเชอร์โนบิล
อุบัติภัยเชอร์โนบิลในยูเครน (ประเทศที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี
ค.ศ. 1985) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน
ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล นิคมเชอร์โนบิล
ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต จังหวัดเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน

อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบระบบได้ล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน ได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น ผลจากการระเบิดทำให้เกิดขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน การจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
ในปี ค.ศ. 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า
600,000 คน มีผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิด 56 คน แต่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีอาจสูงถึง 4,000
คน กว่า 300,000 ชีวิต
ต้องอพยพไปตั้งรกรากที่อื่น ผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีในร่างกาย และส่งผลให้รูปร่างผิดปกติ
พิกลพิการ จนแทบจะไม่เหลือเค้ามนุษย์
ปริมาณกัมมันตรังสีที่ระเบิดออกมาของเชอร์โนบิล
รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเกาะฮิโรชิม่าในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 4 เท่า! และอาจต้องใช้เวลาถึง
24,000 ปี กว่าที่ผู้คนจะกลับมาอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)