บทความเรื่องอุบัติภัยเชอร์โนบิล




          อุบัติภัยเชอร์โนบิลในยูเครน (ประเทศที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1985) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล นิคมเชอร์โนบิล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต จังหวัดเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน






          อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบระบบได้ล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน ได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น ผลจากการระเบิดทำให้เกิดขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน การจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์




          ในปี ค.ศ. 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก  ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน มีผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิด 56 คน แต่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีอาจสูงถึง 4,000 คน กว่า 300,000 ชีวิต ต้องอพยพไปตั้งรกรากที่อื่น ผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีในร่างกาย และส่งผลให้รูปร่างผิดปกติ พิกลพิการ จนแทบจะไม่เหลือเค้ามนุษย์




          ปริมาณกัมมันตรังสีที่ระเบิดออกมาของเชอร์โนบิล รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเกาะฮิโรชิม่าในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 4 เท่า! และอาจต้องใช้เวลาถึง 24,000 ปี กว่าที่ผู้คนจะกลับมาอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย